ทำไมปลาสลิดตากแห้ง ถึงแม่แค่ตัวไม่มีหัว

ปลาสลิดหรือปลาใบไม้ เป็นปลาน้ำจืด และเป็นปลาพื้นบ้านของประเทศไทยมีมาอย่างยาวนาน ส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักว่ามีรสชาติดี เนื้ออร่อย หรือที่เรียกกันว่า ปลาสลิดบางบ่อ โดยปลาสลิดได้ถูกนำไปเลี้ยงอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงเพื่อรับประทานภายในครอบครัว หรือการเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย เนื่องจากการเลี้ยงปลาสลิดใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำ และสามารถเลี้ยงในนาข้าว พร้อมกับการทำนาข้าวไปด้วย จึงทำให้เกษตรกรหันมาสนใจเลี้ยงกันมากขึ้น และปลาสลิดเองตลาดก็มีความต้องการสูง เป็นสินค้าส่งออกอีกอย่างหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่างทั้งในรูปสดและทำเค็ม ตากแห้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ตากแห้ง เป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมากหลายคนอาจสงสัยว่าทำไมปลาสลิดตากแห้งจึงไม่มีหัว สาเหตุที่ปลาสลิดตากแห้งไม่มีหัวนั้นมีหลายประการ ดังนี้
 
 
1.ปลาสลิดเป็นปลาที่มีไขมันมาก ไขมันในปลาสลิดจะเน่าเสียได้ง่ายเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานาน การตัดหัวปลาสลิดออกจะช่วยกำจัดอวัยวะภายในที่เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ทำให้ปลาสลิดตากแห้งมีรสชาติอร่อยและเก็บไว้ได้นานขึ้น
 
2.ปลาสลิดตากแห้งที่ไม่มีหัวจะดูสวยงามและน่ารับประทานมากกว่าปลาสลิดตากแห้งที่มีหัว
 
3.การตัดหัวปลาสลิดออกจะช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาดปลาสลิดตากแห้ง
 
รูปแบบการเลี้ยงและการเพาะพันธุ์ปลาสลิด
 
ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาสลิด สามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ ๆ ได้ 2 ลักษณะได้แก่
 
 
1.การเลี้ยงปลาสลิดโดยเพาะพันธุ์ปลาในบ่อเลี้ยง
 
การเพาะพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ โดยการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ผสมกันเองตามธรรมชาติ ในอัตรา 50-100 กก./ไร่ โดยไม่คำนึงถึงอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ โดยใช้พ่อแม่พันธุ์ 8-10 ตัว/กก. ซึ่งจำนวนการวางไข่ของปลาจะไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางธรรมชาติเป็นหลัก และปลายังมีการวางไข่หลายครั้งทำให้ได้ลูกปลาหลายรุ่น
การเพาะพันธุ์โดยวิธีฉีดฮอร์โมน โดยปล่อยพ่อแม่พันธุ์ขนาด 8-10 ตัว/กก. ที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ในอัตรา 5-10 กก./ไร่ โดยมีอัตราส่วนพ่อแม่พันธุ์ประมาณ 1:1 ซึ่งปลาจะวางไข่ในระยะใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้งวิธีที่ 1.1 และ 1.2 อาจปล่อยปลาในบ่อเลี้ยง (แปลงนา) ขนาดใหญ่เลยหรือปล่อยลงบ่อขนาดเล็กก่อน เมื่อลูกปลาเกิดและเห็นตัวแล้วจึงปล่อยออกไปสู่บ่อใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการเพาะพันธุ์ปลาลักษณะดังกล่าวไม่สามารถคาดคะเนอัตราการรอดตายของลูกปลา และจำนวนลูกปลาที่ได้ ขึ้นอยู่กับอาหารธรรมชาติ คุณสมบัติของน้ำ และศัตรูของลูกปลา
 
 
2.การเลี้ยงโดยการปล่อยลูกปลาในแปลงนา
การเลี้ยงปลาสลิดโดยการปล่อยลูกปลาสลิดขนาด 2-3 ซม. ในอัตรา 10,000 ตัว/ไร่ โดยลูกปลาที่นำมาปล่อยได้จากการเพาะพันธุ์โดยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ และอนุบาลในบ่อดินจนได้ขนาดที่ต้องการ โดยลูกปลาที่นำมาปล่อยอาจจะปล่อยในบ่อเลี้ยง (แปลงนา) เลยหรืออนุบาลต่อในบ่อขนาดเล็กก่อนแล้วจึงค่อยปล่อยออกบ่อใหญ่ นอกจากนี้เกษตรที่เลี้ยงปลาสลิดหลายครั้งแล้วยังมีการปล่อยปลาขนาดเล็กประมาณ 15-20 ตัว/กก. ที่ไม่ได้จำหน่ายมาปล่อยเสริม ซึ่งการปล่อยเสริมแบบนี้สำหรับวิธีการเพาะ 1.1 และ 1.2 ไม่ควรปล่อยในช่วงที่ทำการเพาะพันธุ์ เนื่องจากปลาที่ปล่อยจะกินลูกปลาที่เกิดใหม่ได้
 

บทความอื่นๆ