แมกนีเซียม สำคัญแค่ไหนต่อร่างกายเรา

 
แมกนีเซียม ( Magnesium ) คือ องค์ประกอบแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายกายมนุษย์ พบอยู่ประมาณ 0.5 ของน้ำหนักกาย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบกระดูก เนื้อเยื่ออ่อน และในเลือดเพียงเล็กน้อย ดังนั้นมีหน้าที่ที่สำคัญส่งเสริมการก่อตัวของกระดูกและฟัน มีส่วนช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อ และปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด และรักษาระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ แมกนีเซียมจึงเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ทั้งหมด ส่วนแมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระและเหงื่อนั่นเอง
 
หน้าที่สำคัญของแมกนีเซียม
 
1. แมกนีเซียมจะทำงานร่วมกับฟอสฟอรัส วิตามินดีและแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง โดยพบว่าหากร่างกายขาดแมกนีเซียมหรือมีแมกนีเซียมในปริมาณที่น้อยเกินไป ก็จะทำให้กระดูกมีความเปราะบางและแตกหักได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
2. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญ โดยแมกนีเซียมจะไปกระตุ้นน้ำย่อยที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญให้ทำงานได้ดีขึ้นนั่นเอง
3. แมกนีเซียมช่วยควบคุมสมดุลของความเป็นกรดและด่างให้เป็นปกติมากขึ้น
4. แมกนีเซียมอาหารที่มีส่วนช่วยในการคงตัวของกล้ามเนื้อ
5. แมกนีเซียมส่งเสริมการดูดซึม ให้ร่างกายมีการดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส แคลเซียมและโปแตสเซียม
6. แมกนีเซียมช่วยส่งเสริมให้ร่างกายมีการดูดซึมวิตามิน นำเอาวิตามินบีรวม วิตามินอีและ วิตามินซี มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการควบคุมการหดตัวของกล้ามเนื้อให้เป็นไปอย่างปกติและมีความจำเป็นต่อการส่งสัญญาณประสาทอีกด้วย
8. แมกนีเซียมมีส่วนช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในระดับที่คงที่และต้านความหนาวเย็นได้ดี ด้วยการปรับอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสมนั่นเอง
9. การที่ร่างกายได้รับแมกนีเซียมในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานได้ดี
10. แมกนีเซียมมีความจำเป็นและสัมพันธ์ต่อของเหลวภายนอกร่างกาย
11. แมกนีเซียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ DNA และ RNA ในระหว่างที่เซลล์กำลังแบ่งตัว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด
 
ผลเสียหากขาดแมกนีเซียม
 
เมื่อร่างกายขาดแมกนีเซียมจะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนแรงและเกิดตะคริวได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคตับอ่อนอักเสบและตับแข็งนั่นเอง นอกจากนี้ในผู้ที่ครรภ์เป็นพิษ ไตพิการ เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีการดูดซึมในร่างกายที่ผิดปกติ หรือผู้ที่ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ก็มักจะเป็นผู้ที่มีภาวะขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน
 
ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างแมกนีเซียมและโรคหัวใจขาดเลือด พบว่าหากร่างกายได้รับแมกนีเซียมน้อยเกินไป จนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก็จะทำให้เกิดการอุดตันในหัวใจและสมอง จนส่งผลให้หัวใจขาดเลือดได้นั่นเอง สำหรับอาการที่พบได้บ่อยๆ จากการขาดแมกนีเซียมก็คือ กล้ามเนื้อจะเกิดการบิด สั่น ความจำแย่ลง โดยอาจเกิดความจำเสื่อมเฉพาะ เช่น จำสถานที่หรือจำเพื่อนฝูงไม่ได้ โดยการรักษาอาการดังกล่าวนั้น หากเป็นเด็กจะห้ามไม่ให้ดื่มนม เพราะในน้ำนมมีแคลซีฟีรอลที่จะยิ่งกระตุ้นให้แมกนีเซียมถูกขับออกมากขึ้น และตามด้วยการให้อาหารเสริมที่จะเพิ่มแมกนีเซียมและรักษาอาการได้ดี

บทความอื่นๆ