สมุดข่อย เรียนรู้ภูมิปัญญาสมุดไทยแต่โบราณ

ในสมัยก่อนต้นไม้ที่นำมาทำกระดาษคือ ต้นสา ทางภาคเหนือนิยมทำกันเรียกว่า กระดาษสา อีกชนิดหนึ่งคือ ต้นข่อย กระดาษาที่ได้จาก “ต้นข่อย” นั้น นำมาทำเป็น “สมุดไทย” ที่ใช้เขียนตัวอักษรและเขียนภาพ เช่นภาพพระมาลัยหรือทศชาติชาดก เป็นต้น
 
สมุดไทย มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือในปัจจุบัน เพียงแต่ใช้กระดาษยาวเพียงแผ่นเดียว แล้วพับกลับไปมาจะให้หนังสือมีขนาดหนาหรือบางก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน โดยทั่วไปแล้วหนังสือสมุดไทยมีอยู่สองแบบคือ สมุดไทยดำ กับสมุดไทยขาว เพราะเรียกตามสีของสมุดนอกจากนี้ยังมีกระดาษแผ่นบางๆ ไม่ได้ทำเป็นรูปเล่ม เรียกว่า กระดาษเพลา ทางเหนือเรียกว่า กระดาษน้ำโท้ง
 
 
 
 
ขั้นตอนการทำ
 
ส่วนขั้นตอนการทำกระดาษนั้น ถ้าทำจากเปลือกต้นข่อย เลือกใช้กิ่งข่อยที่ไม่แก่ต้องลอกเปลือกในขณะที่กิ่งยังสดอยู่ หรือกิ่งข่อยนั้นแห้ง จะลอกเปลือกไม่ได้ต้องนำไปลนไฟก่อนถึงจะลอกได้
 
ถ้าใช้เปลือกสาจะต้องเลือกต้นสาขนาดใหญ่แล้วโค่นต้นสาทั้งต้น ถึงจะลอกเปลือกออกได้ แต่ต้องปอกสีเขียวที่ผิวชั้นนอกก่อน ถึงจะได้เนื้อไม้ที่ใช้ทำกระดาษ
 
เมื่อได้เปลือกไม้แล้ว นำไปแช่น้ำประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้เปลือกไม้เปื่อย ต่อด้วยการบีบเปลือกไม้ให้แห้งแล้วฉีกเป็นฝอยๆ จากนั้นก็นำไปนึึ่ง เมื่อนึ่งจนสุกแล้วแต่ว่าเปลือกไม้นั้นยังไม่เปื่อยพอต้องนำไปแช่น้ำด่างจากปูนขาว ประมาณ 1 วัน จะทำให้เปลือกไม้นั้นเปื่อย เพราะจะบี้เปลือกไม้ได้ง่ายขึ้น
 
แช่น้ำด่างแล้ว ต้องนำไปล้างน้ำในน้ำที่ไหลตลอดเวลา ล้างจนหมดด่าง แล้วบีบให้แห้ง นำไปทุบให้ละเอียด เพื่อทำเป็นเยื่อกระดาษ พร้อมที่จะไปทำกระดาษ
 
จากนั้นนำเยื่อกระดาษที่ปั้นเป็นก้อนมาละลายน้ำในครุ ตีเยื่อไม้ให้ปนกับน้ำ แล้วเทลงบนพะแนง (แบบที่ทำแผ่นกระดาษ) พะแนงนั้นต้องอยู่ในน้ำ แล้วเกลี่ยเยื่อไม้นั้นให้เสมอกัน ก่อนที่จะนำพะแนงขึ้นจากน้ำนั้นจะต้องพรมน้ำให้ทั่วก่อน และต้องยกให้ได้ระดับเสมอกันเพื่อให้กระดาษนั้นมีความหนาเท่ากันหมด
 
ยกพะแนงขึ้นจากน้ำ แล้วนำไปพิงตามแนวนอนในลักษณะเอียง แล้วใช้ไม้ซางคลึงเยื่อไม้เพื่อให้กระดาษเรียบและรีดน้ำออกมา แล้วตากแดดไว้จนแห้งสนิทแล้วลอกออกมากลายเป็นกระดาษแผ่นบางๆ เรียกว่า กระดาษเพลา
 
ต่อไปนำกระดาษเพลาทำเป็นรูปเล่ม แล้วเลือกว่าต้องการสมุดดำหรือสมุดขาว ขั้นตอนนี้เรียกว่าการลบ ถ้าต้องการสมุดขาว นำแป้งเปียกไปผสมกับน้ำปูนขาวแล้วกวนให้สุกถึงจะทาบบนกระดาษได้ ถ้าเป็นสมุดดำนำแป้งเปียกที่ผสมเขม่าไฟ หรือกาบมะพร้าวที่เผาไฟแล้วผสมกับน้ำปูนขาวด้วย
 
ตากแห้งแล้วขัดกระดาษนั้นให้เรียบและขึ้นมันด้วยหิน หินนั้นจะต้องมีผิวเรียบเกลี้ยง จากนั้นก็นำกระดาษไปพับเพื่อทำสมุด ส่วนขนาดนั้นขึ้นอยู่กับหน้าสมุดที่จะทำ รวมไปถึงจำนวนหน้าที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้
 
ส่วนเครื่องมือที่ใช้เขียนนั้นก็หาได้ตามปากกา ทำจากไม้หรือขนไก่ แล้วนำไปบากให้เป็นร่องเพื่อให้น้ำหมึกเดินได้ ส่วนดินสอขาว ก็มาจากหินดินสอ
 
 
 
ส่วนน้ำหมึกหาได้จากธรรมชาติ
 
น้ำหมึกสีดำ ทำจากเขม่าไฟบดละเอียด ผสมกับกาวยางมะขวิด, น้ำหมึกสีขาว ทำจากเปลือกหอยมุกฝนหรือบดให้ละเอียด ผสมกับน้ำยางมะขวิด, น้ำหมึกสีแดง ทำมาจากชาดผสมกับกาวยางมะขวิด, น้ำหมึกสีทอง น้ำหมึกชนิดนี้ต้องเขียนด้วยกาวจากยางไม้ แล้วนำทองคำเปลวปิดบนกาว ถึงจะได้สีทองที่เงางาม
 
ปัจจุบัน การทำสมุดจากต้นข่อยเลิกทำไปแล้ว ส่วนกระดาษสายังมีการผลิตอยู่ นอกจากใช้เขียนแล้ว กระดาษสายังเป็นวัสดุในการทำงานหัตถกรรม ที่สำคัญกระดาษสายังมีประโยชน์ในการอนุรักษ์หนังสือเก่า เพราะกระดาษสานั้นไม่มีกรดและด่างที่จะทำลายต้นฉบับและใช้ผนึกกระดาษเก่าได้ดี เพราะกระดาษสามีเยื่ออยู่ในตัว จึงทำให้มีความเหนียว ทนทาน

บทความอื่นๆ

สินค้าใหม่

เทปสีน้ำตาล 45 หลา

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป ThankYou(น้ำตาล) 45 หลา

  • ม้วน ละ 22 บาท ( 1 ม้วน )

เทป ThankYou(ส้ม) 45 หลา

  • ม้วน ละ 22 บาท ( 1 ม้วน )

เทป ThankYou(ชมพู) 45 หลา

  • ม้วน ละ 22 บาท ( 1 ม้วน )

เทป ThankYou(แดง) 45 หลา

  • ม้วน ละ 22 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(ฟ้า)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(น้ำตาล)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(ส้ม)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(ชมพู)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(ขาว)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )

เทป 20 หลา - ThankYou(แดง)

  • ม้วน ละ 10 บาท ( 1 ม้วน )